สำนักบริหารงานศิลปวัฒนธรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข่าวประชาสัมพันธ์
นิทรรศการ "ทัศน์ ทัศน์ ทัศน์"
หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ศิลปิน สำนักบริหารงานศิลปวัฒนธรรม
จุฬาฯ จัดแสดงผลงานของ
ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และคณาจารย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลักษณะงาน จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์
ภาพถ่าย
พิธีเปิดนิทรรศการ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา 16.00 น.
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์
กมลรัตนกุล อธิการบดี
ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด
ระยะเวลาที่จัดแสดง
3 ธันวาคม 2555 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2556
ห้องนิทรรศการ นิทรรศสถาน
อาคารศิลปวัฒนธรรม
แนวความคิด
สืบเนื่องจากสำนักบริหารงานศิลปวัฒนธรรม
ได้จัดให้มีการแสดงนิทรรศการศิลปะของผู้บริหารและคณาจารย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภายใต้ชื่อนิทรรศการว่า “เส้นสายของผู้บริหาร : ศิลปะแห่งเหมันตฤดู ” โดยผู้บริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และนิทรรศการ “ปฐมการณ์แห่งมานุษย์ ” โดย
คณาจารย์สาขามนุษยศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาหลายครั้งแล้วนั้น และในปีนี้ ถือเป็นการสร้างความน่าสนใจยิ่งขึ้น
จึงได้รวบรวมผลงานทั้งสองนิทรรศการเข้าด้วยกัน เป็นการสร้างแนวความคิดใหม่ภายใต้ชื่อ
นิทรรศการ “ทัศน์ ทัศน์ ทัศน์” อันหมายถึง
ทัศน์แรก คือ ทัศนศิลป์ของผู้บริหาร ทัศน์ที่สอง คือ ทัศนศิลปิน ส่วนทัศน์ที่สาม
คือ ทัศนามหาวิทยาลัย
*ผศ.สุรชัย
เอกพลากร
ภาควิชาทัศนศิลป์
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
ทัศนะ
ทรรศนะ หรือทัศนา * หมายถึง การเห็น
ความเห็น ไปจนถึงความคิดเห็น ซึ่งหมายถึงการเห็นตั้งแต่การรับรู้ด้วยทัศนะภายนอกไปจนถึงทัศนะภายในของแต่ละตัวตน
จากหยาบไปจนถึงละเอียด จากผิวเผินไปจนลุ่มลึก
ทัศนศิลป์* เป็นการสร้างสรรค์ทางศิลปะรูปแบบหนึ่ง
เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งในอีกหลากหลายสาขา ซึ่งสามารถช่วยให้ความซาบซึ้งเกี่ยวกับคุณค่าของชีวิตของมนุษย์เรามีคำอธิบาย
บางครั้งด้วยการอธิบาย บางครั้งด้วยการไม่อธิบาย และบางครั้งด้วยการตั้งคำถาม.....
ย้อนไปในประวัติศาสตร์ขณะที่โลกเรายังไม่มีกล้องถ่ายรูป
ภาษาเขียนก็แพร่หลายอยู่ในหมู่ผู้รู้เพียงไม่กี่ท่าน สังคมก็ได้อาศัยทัศนศิลป์นี้แหละเป็นสื่อถ่ายทอดให้เห็นภาพ
แทนข้อเขียน แทนคำพูด แทนจินตนาการที่อธิบายได้ยาก แม้ทุกวันนี้ จะมีผู้รู้ภาษาเขียนมากขึ้น
เราก็ยังคงต้องใช้ภาพในการช่วยอธิบายคำพูดและข้อเขียน ในหลายๆโอกาส เพราะการเห็นด้วยตาตนเอง(ทั้งด้วยการมองออกไป
และการมองเข้ามาในตน) ทำให้มนุษย์เราได้รับคำอธิบายที่ดีที่สุด เมื่อมนุษย์เราพัฒนาจนมีความรู้
ความเข้าใจมากขึ้น จากเพียงแค่ทัศนะก็หลอมรวมขึ้นเป็นทัศนคติ มนุษย์เราก็เริ่มมีคำถามมากขึ้นตามไปด้วย
บางคำถามเมื่อยังไม่รู้คำอธิบายก็จะมุ่งมั่นค้นคว้าต่อไป และหากคำตอบยังไม่เป็นที่กระจ่าง
การค้นคว้าก็จะยังคงดำรงอยู่ไม่เสื่อมคลาย
เมื่อทัศนะหรือการเห็น
เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการใช้ชีวิต มนุษย์เราจึงมีการพัฒนา และใช้ประโยชน์ทั้งจากศาสตร์และสื่อที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นอย่างต่อเนื่อง
จนทำให้โลกแห่งการสื่อสารในปัจจุบันถูกพัฒนาจนเป็นโลกแห่งการใช้ภาพเป็นสื่อหลัก เนื่องจากภาพดึงดูดความสนใจ
สื่อความรู้สึก และช่วยทำให้เข้าใจข้อมูลต่างๆได้ง่ายขึ้น
ความเข้าใจจาก"การเห็น"
จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่า และเนื่องจากพลังที่เกิดจากการ"เห็นถูก" หรือ"เห็นผิด"นั้นมหาศาล
ดังนั้นบทบาทของทัศนศิลป์ ในฐานะของศาสตร์ซึ่งสามารถช่วยให้เข้าใจและเกิดความซาบซึ้งเกี่ยวกับคุณค่าของชีวิตของมนุษย์เรา
จึงยิ่งเข้มข้นขึ้นด้วยการอธิบาย การไม่อธิบาย และการตั้งคำถาม เพื่อช่วยให้มนุษย์เราสะดุดถาม
สะดุดคิด และเกิดการศึกษาขึ้นทั้งภายนอก และภายในตัวตน เพื่อที่จะได้พัฒนาไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด...อย่างมีทิศทางและสุนทรียะ
*ทัศนศิลป์
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒.หมายถึง ศิลปกรรมประเภทหนึ่งซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะ
ที่เป็นรูปภาพหรือรูปทรง รับรู้ได้ด้วยการเห็นและสัมผัสได้ด้วย การจับต้อง เช่น ภาพจิตรกรรม
ภาพพิมพ์ งานประติมากรรม งานสถาปัตยกรรม ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.
๒๕๔๒.
นิทรรศสถาน เปิดให้เข้าชมทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 17.00น.
ปิดให้บริการ เสาร์,อาทิตย์
และวันหยุดราชการ
1 ความคิดเห็น:
COOL
แสดงความคิดเห็น