วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

“อารยธรรมสุวรรณภูมิ” (Suvarnabhumi Civilization)



นิทรรศการ                                           “อารยธรรมสุวรรณภูมิ” (Suvarnabhumi Civilization)
ศิลปิน                                                    ศุภวัตร ทองละมุล  (Supawat Thonglamul)
ลักษณะงาน                                          วาดเส้น จำนวน 50 ภาพ
ระยะเวลาที่จัดแสดง                    3 - 15 พฤษภาคม 2556  
พิธีเปิดนิทรรศการ                      วันที่ 3 พฤษภาคม 2556   เวลา 19.00 น.
ห้องนิทรรศการ                          ห้องนิทรรศการชั้น 1 ห้อง 3 - 4
แนวความคิด
 อารยธรรมสุวรรณภูมิ
สุวรรณภูมิ  มีความหมายถึง  ดินแดนหรือแผ่นดินแห่งทอง   ชื่อนี้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของพ่อค้าอีกทั้งนักเดินทางจากดินแดนต่างๆทั่วโลก  เมื่อประมาณนับพันปีล่วงมา  โดยปรากฏชื่ออยู่ในแผนที่การเดินเรือของพ่อค้าชาวตะวันตกคัมภีร์และหนังสือชาดกที่สำคัญของอินเดียหลายเรื่องว่าเป็นดินแดนที่พ่อค้าชาวต่างชาตินิยมเดินทางเพื่อมาค้าขายเพื่อความมั่งคั่งร่ำรวย  ทั้งนี้สันนิษฐานว่า   สุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   อันเป็นพื้นที่ของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านคือ เมียนมาร์  ลาว กัมพูชา  เวียดนาม  ในปัจจุบันโดยเหตุที่ทำให้แผ่นดินสุวรรณภูมิเป็นที่หมายปองของพ่อค้าต่างชาตินั้น   ก็เนื่องมาจากเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  ได้แก่เครื่องเทศต่างๆตลอดจนแร่ธาตุอันมีค่า  เช่น  ทองคำ  ประกอบทั้งการมีทำเลที่ตั้งอันเหมาะสม  ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกจึงทำให้ดินแดนสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางทางการค้าและความรุ่งเรืองทางศิลปะและวัฒนธรรมตั้งแต่ยุคโบราณจวบจนปัจจุบันกาล
ก่อนที่อาเซียนจะเปิดในปี พ.ศ. 2558  ผืนแผ่นดินประเพณีและวัฒนธรรมในรอบๆบ้านเมืองของเรามีลักษณะที่มีความไกล้เคียงกัน   หรือจะเรียกได้ว่าเหมือนกันก็ได้ด้วยการรับและสืบทอดประเพณีรวมทั้งความเชื่อต่างๆมาจากบรรพชน การสร้างสรรค์ผลงานและเดินทางได้เห็นวัฒนธรรมที่ล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างเอาใว้  จากภาพวาดหลายร้อยชิ้นที่มีการวาดต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 3 ปี  และคัดเลือกผลงานคุณภาพมาจัดแสดงเพียง 50 ชิ้น ผลงานมีทั้งเทคนิคสีน้ำมัน  สีน้ำ และดินสอชาร์โคลบนกระดาษ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความงดงามของศิลปวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่นับตั้งแต่เริ่มมีผืนแผ่นดินที่เรียกว่า อารยธรรมสุวรรณภูมิ  เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น: